ระบบ Inventory ใช้เพื่อจัดการสินค้าหรือจัดการวัตถุดิบ

หัวข้อ

-Warehouse (คลังสินค้า)

-Product (ผลิตภัณฑ์)

-Pairing (การจับคู่)

-Purchase Order (ใบสั่งซื้อ)

-Good Received Note (หมายเหตุได้รับสินค้า)

-Report (รายงาน)


Warehouse                                                                                                                              


ท่านสามารถเพิ่ม/แก้ไขข้อมูล คลังสินค้าที่เก็บสินค้าหรือวัตถุดิบ ผ่านเมนูหัวข้อ Warehouse ได้โดยมีขั้นตอน ดังต่อไปนี้



การเพิ่มสาขา หรือที่เก็บสินค้า

1. การกดปุ่ม Create new Warehouse Text 
Description automatically generated 

2. ใส่ขื่อใน Warehouse Name

3. กดปุ่ม Add


สามารถกดเลือกที่เก็บสินค้าหรือวัตถุดิบที่เราต้องการเพื่อเข้าไปจัดการได้ โดยระบบจะแสดงหน้าด้านล่าง



ปุ่ม Close Shift Stock สามารถกดเพื่อไปหน้าดูรายละเอียดของสินค้าทั้งหมดได้


ปุ่ม Waste สามารถกดเพื่อไปหน้าจัดการสินค้าที่เสียหรือจำเป็นต้องทิ้งได้เมื่อกดจะแสดงหน้าด้านล่าง



การใส่ข้อมูลของที่เสียหรือของที่ต้องทิ้ง

1. กดปุ่ม Add Ingredients

2. จะมี pop-up แสดงขึ้นมาให้กดเลือกของที่ต้องการทิ้ง

3. เมื่อเลือกแล้วจะแสดงรอบที่เราใส่สินค้าเข้ามาให้เลือกรอบที่เราต้องการทิ้ง

4. สินค้าที่เลือกจะแสดงในตารางสามารถระบุจำนวนได้ใน QUANTITY และเหตุผลที่ต้องทิ้งได้ใน REASON

5. เมื่อใส่ข้อมูลครบแล้วให้กด Save

6. หลังจาก Save ระบบจะพากลับไปที่หน้า Warehouse 



ในตาราง

I SKU  คือรหัสสินค้าหรือวัตถุดิบ

NAME คือชื่อสินค้าหรือวัตถุดิบ

LAST ACTION คือเวลาที่เราจัดการกับสินค้าครั้งล่าสุด

TOTAL STOCK คือจำนวนของที่คงเหลือทั้้งหมด

ACTION สามารถกดเพื่อจัดการกับสินค้าได้จะมี 3 ตัวเลือก 

       1. Details สามารถกดเพื่อเข้าไปหน้าจัดการสินค้าได้

       2. Edit สามารถกดเข้าไปหน้าแก้ไขข้อมูลสินค้าได้

       3. Delete สามารถลบสินค้าได้

เมื่อกดเลือกวัตถุดิบหรือกด Details ที่ Action จะแสดงหน้าด้านล่าง

ปุ่ม Waste               ใช้สำหรับจัดการกับวัตถุดิบที่เสียหรือจะทิ้ง

                              เมื่อกดจะมี pop-up ให้ใส่จำนวนวัตถุดิบ และเหตุผลที่จะทิ้ง

ปุ่ม Adjust Stock   ใช้สำหรับจัดการวัตถุดิบเข้า-ออกในกรณีอื่นๆ เช่นนเริ่มใช้ inventory กลางเดือน 

                              เมื่อกดจะมี pop-up ให้ใส่จำนวนวัตถุดิบ หากต้องการนำวัตถุดิบออกให้ใส่เครื่องหมาย "-" ด้านหน้าจำนวนวัตถุดิบ

                              และใส่ Note ว่าเรานำวัตถุดิบ เข้า-ออกเนื่องจากอะไร

ปุ่ม Cook IN          ใช้สำหรับการเพิ่มวัตถุดิบที่ผูกสต็อกกับวัตถุดิบด้วยกัน

                              เมื่อกดจะมี pop-up ให้ใส่จำนวนวัตถุดิบที่จะปรุง จำนวนวัตถุดิบที่ได้จากการปรุงสำเร็จ และจะแสดงวัตถุดิบที่ใช้ด้านล่าง 

ปุ่ม Stock IN          ใช้สำหรับเพิ่มวัตถุดิบที่ซื้อเข้ามา

                              เมื่อกดจะมี pop-up ให้ใส่จำนวนวัตถุดิบที่เพิ่มเข้ามา ราคาของวัตถุดิบและวันที่นำวัตถุดิบเข้า

ในตาราง History  จะแสดงความเคลื่อนไหวของสินค้าว่ามีการนำไปทำอะไรบ้าง


Products

Products หน้าที่แสดงรายละเอียดของสินค้าสามารถเพิ่มสินค้าหรือแก้ไขรายละเอียดของสินค้าได้ที่หน้านี้

ปุ่ม Add Product สามารถเพิ่มสินค้าได้ เมื่อใส่ข้อมูลครบแล้วให้กด Add

สามารถกดที่สินค้าในตารางเพื่อแก้ไขรายละเอียดสินค้าแล้วกด Update เพื่อบันทึกข้อมูลใหม่ได้ หากต้องการลบให้กด Delete หากไม่เจอปุ่ม Delete ให้เลื่อนหน้าจอในแถบแก้ไขข้อมูลลงมาด้านล่าง


Pairing

Pairing ใช้เชื่อมสินค้าหรือวัตถุดิบกับรายการต่างๆ

-Menu

-Options

-Stock Product


Menu

Menu สามารถผูกวัตถุดิบกับเมนูอาหารได้ในหน้านี้ หน้านี้จะแสดงเมนูอาหารทั้งหมดที่มี

สามารถกดเลือกเมนู แล้วจะไปที่หน้าผูกวัตถุดิบกับเมนูนั้น

ปุ่ม Add Ingredient ไว้สำหรับกดเพิ่มวัตถุดิบที่ใช้เมื่อเลือกแล้ววัตถุดิบจะแสดงในตาราง

ปุ่ม Edit ไว้สำหรับแก้ไขวัตถุดิบที่เราเลือกไว้แล้วในตาราง



Options

Options สามารถผูกวัตถุดิบกับ option ได้ในหน้านี้ หน้านี้จะแสดง option ทั้งหมดที่มี

สามารถกดเลือกoption แล้วจะไปที่หน้าผูกวัตถุดิบกับoptionนั้น

สามารถผูกวัตถุดิบกับตัวเลือกแต่ละอันใน option ได้ในหน้านี้

ปุ่ม Add Ingredient ไว้สำหรับกดเพิ่มวัตถุดิบที่ใช้เมื่อเลือกแล้ววัตถุดิบจะแสดงในตาราง

ปุ่ม Edit ไว้สำหรับแก้ไขวัตถุดิบที่เราเลือกไว้แล้วในตาราง



Stock Product

Stock Product ใช้สำหรับผูกสต็อกระหว่างวัตถุดิบกับวัตถุดิบ เพื่อเปลี่ยนจำนวนจากที่รับเข้าได้ จะแสดงรายการ สต็อกของวัตถุดิบในหน้านี้

สามารถกดเลือกวัตถุดิบ แล้วจะไปที่หน้าผูกวัตถุดิบที่จะใช้กับวัตถุดิบที่กดเลือก

ปุ่ม Add Ingredient ไว้สำหรับกดเพิ่มวัตถุดิบที่ใช้เมื่อเลือกแล้ววัตถุดิบจะแสดงในตาราง

ปุ่ม Edit ไว้สำหรับแก้ไขวัตถุดิบที่เราเลือกไว้แล้วในตาราง

เมื่อเพื่มวัตถุดิบเรียบร้อยแล้วให้ใส่จำนวนวัตถุดิบที่จะได้รับในส่วนของ Willl Recived แล้ว กด Save เพื่อบันทึก


Purchase Order

Purchase Order สามารถออกใบสั่งซื้อและดูรายละเอียดใบสั่งซื้อที่เคยออกได้ที่หน้านี้ 



สามารถดูรายละเอียดใบสั่งซื้อโดยกดปุ่ม Preview Invoice 

สามารถกดเพื่อดู Action เพิ่มเติมได้โดยกด More Action






สามารถ

วิธีสร้างแบบฟอร์มสั่งสินค้า

1. สร้างใบสั่งซื้อใหม่ได้โดยกดปุ่ม New Purchase Order 

2. กรอกข้อมูลในฟอร์มเมื่อกรอกครบแล้วให้กด Save ที่ด้านข้าง

3. เมื่อกด Save จะขึ้นแจ้งเตือน ให้กด OK เมื่อสร้างใบเรียบร้อยแล้วสามารถกด Print เพื่อพิทพ์ใบสั่งสินค้าได้


การทำใบรับสินค้าจากใบสั่งซื้อ

1. เลือกบิลที่สร้างไว้ โดยกดที่ Preview Invoice ที่เป็นรูปตาที่ด้านหลัง

2. กดเลือก Create Good Recived Note

3. ใส่ข้อมูลวันหมดอายุแล้วกด Save

4. เมื่อบันทึกแล้วสามารถกดปริ้นได้



Good Received Note

Good Received Note เป็นใบแจ้งหมายเหตุการรับสินค้า สามารถดูใบรับสินค้าที่สร้างไวได้ในตาราง


Inventory Report

Inventory Report คือรายงานสำหรับคลังสินค้า

-Stock Item

-Stock Item 2

-Remaining


Stock Item

Stock Item สามารถดูรายงานว่าของคงเหลือจำนวนเท่าไหร่บ้างในช่วงเวลาที่เราอยากทราบ โดยเลือกช่วงเวลา และจุดที่เก็บที่ต้องการทราบข้อมูลจะแสดงในตารางหลังจากกดเลือกจุดเก็บสินค้าและวันที่แล้ว  สามารถ ดาวน์โหลดเป็นไฟล์ Excel ออกมาได้โดยกดปุ่ม Export to Excel

Stock Item 2

Stock Item 2 เป็นรายงานที่ละเอียดกว่า Stock Item สามารถดูรายละเอียดต่างๆได้ในตาราง ข้อมูลจะแสดงในตารางหลังจากกดเลือกจุดเก็บสินค้าและวันที่แล้ว 


Remaining

Remaining สามารถดูยอดคงเหลือของคลังสินค้าแต่ละจุดได้โดยเลือกจุดเก็บสินค้าที่เราต้องการข้อมูลจะแสดงในตารางหลังจากกดเลือกจุดเก็บสินค้าแล้ว สามารถดาวน์โหลดออกมาเป็นไฟล์ Excel ได้ โดยกดปุ่ม Export to Excel